หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
 
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลหน่วยงาน
History
บุคลากร
Staff
การบริหารบุคคล
Personnel
ข่าวสาร
News
แผน
Planning
รายงาน
Peport
ระเบียบ
Rules
บริการประชาชน
Service
 
องค์การบริหารส่วนตำบลนครเดิฐ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนครเดิฐ
“การบริหารการจัดการน้ำที่ดี
มีเศรษฐกิจพอเพียง
สาธารณูปโภคก้าวหน้า
มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต
รักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ยึดหลักธรรมาภิบาล
บริการประชาชน ”
วิสัยทัศน์ อบต.นครเดิฐ
ศูนย์รวมจิตใจทางด้านศาสนาของชาวนครเดิฐ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฟากคลอง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครเดิฐ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
องค์การบริหารส่วนตำบล
นครเดิฐ
www.nakorndert.go.th
1
2
3
4
5
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลนครเดิฐ ยินดีให้บริการสามารถ ประชาสัมพันธ์ facebook : องค์การบริหารส่วนตำบลนครเดิฐ ศรีนคร สุโขทัย
 
 


 
เอกสารแนะนำ ภาษีป้าย  
 

เอกสารแนะนำ ภาษีป้าย
ป้าย หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่า       ผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัว                     ผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามสำดับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาณีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
  ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปียกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี
งวดที่ 1 มกราคม –  มีนาคม    = 100%
งวดที่ 2 เมษายน –  มิถุนายน  = 75 %
งวดที่ 3 กรกฎาคม   – กันยายน  = 50%
งวดที่ 4 ตุลาคม      –  ธันวาคม  = 25 %
  ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย  ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด  ภายในเดือนมีนาคมของปี
     ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศไทยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย
  เจ้าของป้ายผู้ใด
          (1) ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคม
          (2) ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิมและมีพื้นที่ ข้อความ ภาพ และเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้ายเดิมที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว
          (3) เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น
          ให้เจ้าของป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายในป้ายเดิม แล้วแต่กรณี
  ให้เจ้าของป้ายหรือผู้ซึ่งเจ้าของป้ายมอบหมายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
          (1) สำนักงานหรือที่ว่าการของราชการส่วนท้องถิ่นที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่ในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น
          (2) สำนักงานหรือที่ว่าการของราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งการจดทะเบียนยานพาหนะได้กระทำในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น
          (3) สถานที่อื่นที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด โดยประกาศหรือโฆษณาให้ทราบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันประกาศหรือโฆษณา
  ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่                    ณ สถานที่ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไว้ หรือ ณ สถานที่อื่นใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด  ทั้งนี้ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และให้ถือว่าวันที่ชำระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นวันชำระภาษีป้าย
          การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยวิธีการส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายเงินให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ไปยังสถานที่ตามวรรคหนึ่ง โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือส่งโดยวิธีอื่นตาม               ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดแทนการชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ และให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย
  ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ                   ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ
  ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตรา ดังต่อไปนี้
          (1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5ของจำนวนเงิน            ที่ต้องเสียภาษีป้าย
          (2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
          (3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่ม                 ร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม

  เมื่อปรากฏว่าเจ้าของป้ายมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษีป้ายแล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่นหรือ           ผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายได้ภายใน 30 วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
บทลงโทษ
  ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง       เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี  หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000บาท หรือทั้งจำ           ทั้งปรับ
  ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท

บัญชีอัตราภาษีป้าย
(1) ป้ายอักษรไทยล้วน
(ก) ข้อความเคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนไม่ได้ ให้คิดอัตรา 10 บาท
(ข) ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้ ให้คิดอัตรา 5 บาท
     ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
(2) ป้ายอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ รูปภาพหรือเครื่องหมาย
(ก) ข้อความเคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้ ให้คิดอัตรา 52 บาท
(ข) ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้ ให้คิดอัตรา 26  บาท
     ต่อห้าร้อย ตารางเซนติเมตร
(3) ป้ายไม่มีอักษรไทย/อักษรไทยอยู่ต่ำกว่าภาษาต่างประเทศบางส่วน
        (ก) ข้อความเคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้ ให้คิดอัตรา 52 บาท
        (ข) ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้ ให้คิดอัตรา 50 บาท
             ต่อห้าร้อย ตารางเซนติเมตร
  (4) ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ซึ่งมีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยน เป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ โดยเครื่องจักรกลหรือโดยวิธีใดๆ ให้คิดอัตราภาษี ตามจำนวนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพ หรือตามระยะเวลาที่ข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพปรากฏอยู่ในป้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้ายังไม่ได้ออกกฎกระทรวงให้คิดอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีป้ายนี้

  (5) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
  (6) พื้นที่ของป้ายไม่ว่าจะมีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร ให้คำนวณดังนี้
(ก) ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนด ได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร
(ข) ถ้าเป็นป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือว่าตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุด เป็นขอบเขตสำหรับกำหนดส่วนกว้างที่สุดและยาวที่สุด และคำนวณตาม (ก)
  (7) ป้ายตาม (1) (2) (3) หรือ (4) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว
(ก) ถ้ามีเศษเกินกึ่งหนึ่งของห้าร้อยตารางเซนติเมตร ให้นับเป็นห้าร้อยตารางเซนติเมตร ถ้าไม่เกินกึ่งหนึ่ง ให้ปัดทิ้ง
(ข) ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
หลักฐานที่ใช้ในการเสียภาษีป้าย
กรณีติดตั้งใหม่

ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย
รูปถ่ายป้าย, วัดขนาดความกว้าง x ยาว
สำเนาทะเบียนบ้าน
บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ
กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท, ทะเบียนพาณิชย์  หรือหลักฐานของสรรพากร เช่น           ภ.พ. 01, ภ.พ. 09, ภ.พ. 20
หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
กรณีภาษีป้าย (รายเก่า) ที่ยื่นชำระทุกปี
ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย
กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ป. 1
หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย) และ ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
ตัวอย่างการคำนวณ
นายดำ ติดตั้งป้าย ขนาด กว้าง 100 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร            มีข้อความว่า  ร้านร่ำรวย ติดตั้ง เดือน มีนาคม

วิธีการคำนวณ ขนาดป้าย กว้าง x ยาว (หน่วยเซนติเมตร)
100 x 200 = 20,000 ตารางเซนติเมตร
20,000 ÷ 500 = 40 หน่วย
อัตราภาษี 5 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
40 x 5 = 200 บาท
ดังนั้น นายดำ ต้องชำระภาษีป้ายในอัตราขั้นต่ำของภาษีป้าย
คือ 200 บาท

 

ข่าว ณ. วันที่ 16 ธ.ค. 2563 เวลา 15.32 น. โดย คุณ กู้เกียรติ์ สร้อยสุวรรณ์

ผู้เข้าชม 273 ท่าน

 
 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/5

ลำดับภาพที่ 2/5

ลำดับภาพที่ 3/5

ลำดับภาพที่ 4/5

ลำดับภาพที่ 5/5
<<
>>
X
 
 
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 055-606-200